Friday, November 4, 2011

HISTORY THAILAND.

  1. ประวัติศาสตร์การเมืองไทย
    • อาจกล่าวได้ว่าแนวคิดในการศึกษาประวัติศาสตร์ไทย แบ่งเป็น 2 แนวคิด คือ
    • 1. แนวคิดแบบแบบราชาชาตินิยม ที่เน้นศึกษาประวัติศาสตร์เกี่ยวกับเรื่องราวของชนชั้นนำ มีเป้าหมายสร้างความรักชาติ
    • โดยยึดโยงที่ สถาบันกษัตริย์เป็นแกนกลาง
    • บิดาแห่งประวัติศาสตร์สำนักนี้คือ
    • กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
  2. 2. แนวคิดประวัติศาสตร์สามัญชน
    • แนว คิดนี้มองว่า ประวัติศาสตร์เป็นเรื่องราวของผู้คนทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นเจ้า ขุนนาง ไพร่ ทาส นับตั้งชนชั้นสูงแห่งราชสำนัก จนถึงสามัญชนคนชายขอบ นักประวัติศาสตร์คนสำคัญ
    • ของการศึกษาแนวนี้คือ จิตร ภูมิศักดิ์ นอกจาก
    • นี้ยังมีท่านอื่นเช่น นิธิ เอียวศรีวงศ์
    • ชาญวิทย์ เกษตรศิริ สุจิตต์ วงษ์เทศ
    • ศรีศักร วัลลิโภดม ฉัตรทิพย์ นาถสุภา ฯลฯ
  3. จิตร ภูมิศักดิ์ คือใคร ?
    • เขาตายในชายป่า เลือดแดงทาดินเข็ญ ยากเย็น ข้นแค้น อับจน
    • และถึงวันพรากเขาลงมาจากยอดเขา ใต้เงา มหานกอินทรีย์
    • ล้อมยิงโดยกระหยิ่ม อิ่มในเหยื่อตัวนี้ โชคดีสี่ขั้นพันดาว ................
    • เขาจึงต่อสู้ อยู่ข้างคนทุกข์เข็ญ ได้เห็น ได้เรียน พูดจา
    • คุกขังเขาได้ แต่หัวใจ อย่าปรารถนา เกิดมา เข่นฆ่าอธรรม ..........
    • พฤษภา ห้าร้อยเก้า แดดลบเงา จางหาย
    • เขาตาย อยู่ข้างทางเกวียน ศพ คนนี้นี่หรือคือ จิตร ภูมิศักดิ์
  4. ดั่งเทียนผู้ถ่องแท้แห่งตน
    • ศพ คนนี้นี่หรือคือจิตร ภูมิศักดิ์ ตายคา หลักเขตป่ากับนาคร
    • เขาตายในชายป่า เลือดแดงทาดินอีสาน อีกนาน อีกนาน อีกนาน
    • เขาตายเหมือนไร้ค่า แต่ต่อมาก้องนาม
    • ผู้คนไถ่ถามอยากเรียน
    • ชื่อจิตร ภูมิศักดิ์ เป็นนักคิด นักเขียน
    • ดั่งเทียนผู้ถ่องแท้แก่คน
    • ประพันธ์โดย สุรชัย ( หงา ) จันทิมาธร
  5. จากปราจีน - จุฬาฯ - ลาดยาว - บ้านหนองกุง
    • ปัญญาชน กวี นักคิด นักเขียน นักปฏิวัติเพื่อผู้ยากไร้
    • เกิดที่ปราจีนบุรี จบอักษรศาสตร์ จุฬาฯ ด้วยวิญญาณ เสรีชนคนขบถ
    • ทำให้เขาต้องเข้าไปอยู่ในคุกลาดยาวสังเวยอำนาจเผด็จการ
    • “ คุกขังเขาได้ แต่หัวใจอย่าปรารถนา เกิดมาเข่นฆ่าอธรรม ”
    • ปี 2508 เขาป่า เทือกเขาภูพาน ตามอุดมการณ์รักความเป็นธรรมเพื่อมวลชน ในชื่อ”สหายปรีชา”แห่งเขตส่องดาว - วาริชภูมิ
    • สละชีวิตเมื่อ 5 พ . ค .2509 ที่บ้านหนองกุง อ . วาริชภูมิ สกลนคร
    • “ เปิบข้าวทุกคราวคำ จงสูจำเป็นอาจินต์
    • เหงื่อกูที่สูกินจึงก่อเกิดมาเป็นคน
    • ข้าวนี้นะมีรส ให้ชนชิมทุกชั้นชน
    • เบื้องหลังซิทุกข์ทนต้องขมขื่นจนเขียวคราว
    • จากแรงมาเป็นรวง ระยะทางนั้นเหยียดยาว
    • จากรวงเป็นเม็ดพราว ล้วนทุกข์ยากลำบากเข็ญ
    • เหงื่อหยดสักกี่หยาด ทุกหยดหยาดล้วนยากเย็น
    • ปูดโปนกี่เส้นเอ็นจึงแปรรวงมาเป็นกิน
    • น้ำเหงื่อที่เรื่อแดงและน้ำแรงอันหลั่งริน
    • สายเลือดกูทั้งสิ้น ที่สูสดกำซาบฟัน ” ( เพลงเปิบข้าว )
  6. เพลงแสงดาวแห่งศรัทธางานผลงานอมตะ ของจิตร ภูมิศักดิ์
    • พร่างพรายแสง ดวงดาวน้อยสกราว    ส่องฟากฟ้าเด่นพราวไกลแสนไกล
    • ดั่งโคมทองผ่องเรืองรุ้งในหทัย   
    • เหมือนธงชัยส่องนำจากห้วงทุกข์ทน  
    •   พายุฟ้า ครืน ข่มคุกคราม    เดือนลับยามแผ่นดินมืดหม่น
    • ดาวศรัทธายังส่องแสงเบื้องบน   ปลุกหัวใจปลุกคนอยู่มิวาย  
    • ขอเยาะเย้ย ทุกข์ยาก ขวากหนามลำเค็ญ คนยังคงยืนเด่นโดยท้าทาย
    • แม้ผืนฟ้ามืดดับเดือนลับละลาย ดาวยังพรายศรัทธาเย้ยฟ้าดิน     ดาวยังพรายอยู่จนฟ้ารุ่งราง ( เพลงแสงดาวแห่งศรัทธา )
  7. จิตร ในฐานะปัญญาชนกับผลงานอันทรงคุณค่ายิ่ง
  8. คารวะแด่ .... วีรบุรุษประชาชน โดย หงา คาราวาน และอธิการบดีปัญญา มหาชัย
  9. อนุสรณ์จิตร ปัจจุบัน - อนาคต ณ บ้านหนองกุง
  10. การแบ่งยุคประวัติศาสตร์การเมืองไทย
    • 1. ยุคก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ . ศ .2475 แบ่งเป็น 2 ช่วง คือ
    • 1) ช่วงก่อนปฏิรูปการปกครองพ . ศ .2435 สมัยรัชกาลที่ 5
    • 2) ช่วงหลังปฏิรูปฯ พ . ศ .2435- การเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ . ศ .2475
    • 2. ยุคหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ . ศ .2475 แบ่งเป็น 2 ช่วง คือ
      • 1). จากยุคเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ . ศ .2475-14 ตุลาคม 2516
      • 2). จากยุค 14 ตุลาคม 2516 – ปัจจุบัน
  11. การปกครองไทยก่อนปฏิรูป 2435 ( สมัย ร .5)
    • เดิม สยามเป็นรัฐแบบอาณาจักรโบราณ ไม่มีอาณาเขตแน่นอน เช่นรัฐประชาชาติ ( Nation – State ) เช่นปัจจุบัน จัดการปกครองแบบจตุสดมภ์ มีหัวเมืองชั้นใน ชั้นนอก และประเทศราช หัวเมืองมีเจ้าเมืองซึ่งเป็นคนท้องถิ่นปกครองดูแลกันเอง
    • ความ สัมพันธ์ทางสังคม เศรษฐกิจ การเมืองอยู่ภายใต้ ระบบศักดินา ชนชั้นปกครองได้แก่ เจ้า และขุนนางมีอำนาจเหนือไพร่ ( ราษฎรส่วนใหญ่ ) + ทาส และมีอำนาจถือครองที่นาลดหลั่นกันตามศักดินา
    • กษัตริย์มีฐานะเป็นดัง เทพ ( เทวราชา ) และธรรมราชา
  12. สภาพการปกครองไทยช่วง พ . ศ .2435-2475
    • เนื่อง จากสยามต้องเผชิญกับยุคสมัยของลัทธิล่าอาณานิคมจากมหาอำนาจตะวันตก ทำให้ รัชกาลที่ 4-5 ต้อง สร้างความทันสมัยแก่สยามโดยเร่งด่วน
    • ร .5 ทรงดำเนินการ ปฏิรูปการปกครองด้วยการดึงอำนาจเข้าส่วนกลาง ด้วยการส่งคนจากส่วนกลางไปปกครองแทนคนพื้นเมือง
    • จัดตั้งกระทรวงสมัยใหม่ ปฏิรูประบบกฎหมาย จัดตั้งกองทหารอาชีพ
    • จัด ระบบการศึกษาสมัยใหม่ ด้วยการ สร้างโรงเรียน เพื่อหล่อหลอมกล่อมเกลาผู้คนให้มีความเป็น” พลเมืองไทย ”และจงรักภักดีต่อรัฐศักดินาสยาม
    • ยกเลิกระบบไพร่ - ทาสทำให้มีราษฎรที่เติบโตเป็นพลังของการเปลี่ยนแปลง
  13. ผลการปฏิรูปการปกครองสมัย รัชกาลที่ 5
    • เป็น กระบวนการสร้างรัฐประชาชาติ และดึงอำนาจการปกครองมารวมศูนย์ที่สถาบันพระมหากษัตริย์ มีส่วนสำคัญที่ทำให้สยาม รอดพ้นจากการตกเป็นเมืองขึ้น อย่างไรก็ตามท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงได้เกิดปฏิกริยาต่อต้านจากคนชายขอบพวก“ กบฏชาวนา ”หรือ ผีบุญ และ การเคลื่อนไหวของปัญญาชน บางส่วนที่ต้องการมี
    • คอนสติติวชั่น ( รัฐธรรมนูญ ) และ
    • ความเสมอภาคเท่าเทียมกัน เช่น
    • กรณี ร . ศ .103 เทียนวรรณ
    • ก . ศ . ร . กุหลาบ กบฏร . ศ .130
  14. การเมืองหลัง 2475-14 ตุลาคม 2516
    • การปฏิวัติประชาธิปไตย 24 มิ . ย .2475
    • สาเหตุ ระบบการเมืองการปกครองเดิมล้าสมัย + วิกฤตเศรษฐกิจเป็นตัวเร่งรวมทั้งอุดมการณ์ ปชต .( พลังความคิดที่ก้าวหน้า ) จากนักเรียนยุโรป
    • ข้อสังเกต การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้มาจากพลังปัญญาชนในระบบราชการ มิใช่ชนชั้นกลางหรือนายทุนนักธุรกิจเหมือนกรณีในยุโรป
    • โดยสรุป เป็นความขัดแย้งระหว่าง พลังเก่า ( ศักดินายาม ) กับพลังใหม่ ( ปัญญาชนในระบบราชการสายพลเรือน + ทหาร )
    • คือ จุดจบของระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์
  15. ผู้มีบทบาทสำคัญในเหตุการณ์ 2475
    • คณะก่อการเรียกตัวเองว่า คณะราษฎร ประกอบด้วยผู้นำฝ่ายทหารคือ พ . อ . พระยาพหลพลพยุหเสนา และผู้นำฝ่ายพลเรือนคือ ปรีดี พนมยงค์
    • ความสำคัญของปรีดี พนมยงค์ คือ แกนนำ + มันสมองของคณะราษฎร
    • ผู้สถาปนา ม . ธรรมศาสตร์
    • ผู้นำขบวนการเสรีไทย
    • รัฐบุรุษอาวุโส
    • ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
  16. แถลงการณ์คณะราษฎร ฉบับที่ 1
    • “ รัฐบาลของกษัตริย์ ... กล่าวคำหมิ่นราษฎรผู้มีบุญคุณเสียภาษีอากรให้ พวกเจ้า ... ว่าราษฎรยังมีเสียงทางการเมืองไม่ได้ เพราะราษฎรโง่ คำพูดนี้ .. ใช้ไม่ได้ ถ้าราษฎรโง่ เจ้าก็โง่ เพราะเป็นคนชาติเดียวกัน ที่ราษฎรรู้เท่าไม่ถึงเจ้านั้น ไม่ใช่เพราะโง่ เป็นเพราะขาดการศึกษาที่ปกปิดไว้ ไม่ให้เรียนเต็มที่ เพราะเกรงว่าเมื่อราษฎรได้มีการศึกษาก็จะรู้ความชั่วร้ายที่ทำไว้ และคงจะไม่ยอมให้ทำนาบนหลังคน ... ราษฎรทั้งหลายพึงรู้เถิดว่าประเทศเรานี้เป็นของราษฎร ไม่ใช้ของกษัตริย์ตามที่เขาหลอกลวง ...”
  17. ข้อสังเกตการเมืองไทยหลัง 2475
    • นักการ เมืองสายก้าวหน้าแนวคิดประชาธิปไตย + สังคมนิยม คือ ปรีดี พนมยงค์ และคนใกล้ชิดโดยเฉพาะสี่รัฐมนตรีอีสานคือ ทองอินทร์ ภูริพัฒน์ เตียง ศิริขันธ์ จำลอง ดาวเรือง และถวิล อุดล ถูกกำจัดออกจากการเมืองไทย
    • ปรีดีลี้ภัยไปจีนและฝรั่งเศส
    • สี่รัฐมนตรีอีสานถูกฆ่า
    • อย่างโหดเหี้ยมเมื่อ ปี
    • 2492 และ 2495
  18. การเมืองภายใต้อำนาจเผด็จการ
    • หลัง 2475 การเมืองไทยเป็นประชาธิปไตยเพียงเปลือก เนื้อแท้แล้วตกอยู่ภายใต้การครองอำนาจของ เผด็จการทหาร นายกรัฐมนตรีที่มาจากทหารครองอำนาจอย่างยาวกว่า 3 ทศวรรษ ได้แก่ สามจอมพลต่อไปนี้
    • ป . พิบูลสงคราม สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ถนอม กิตติขจร
  19. ช่วง 2475-2516
    • จึงเป็นความขัดแย้งระหว่างพลังปชต . กับพลังเผด็จการอำนาจนิยม
    • กลุ่มเผด็จการได้อาศัยข้ออ้างต่อไปนี้รักษาอำนาจ
    • 1. รัฐบาลพลเรือนแตกแยก โกงกิน แต่ทหารซื่อสัตย์ รักชาติกว่า
    • 2. มีการเคลื่อนไหวของฝ่ายคอมมิวนิสต์ เป็นภัยต่อบ้านเมือง
    • 3. มีบุคคลบางคน ( ศัตรูการเมือง ) เป็นภัยต่อสถาบันกษัตริย์
    • 4. ประชาธิปไตยตะวันตกไม่เหมาะกับไทย ต้องใช้ปชต . แบบไทย ๆไม่ต้องเลือกตั้ง วุ่นวาย ใครวิจารณ์จับ ขังคุก ประหารชีวิต
  20. อำนาจเผด็จการกับการปราบปราม ประชาชน
    • จับปัญญาชนขังคุกมากมาย เช่น จิตร ภูมิศักดิ์
    • ทองใบ ทองเปาว์ รพีพร กรุณา กุศลาศัย
    • กุหลาบ สายประดิษฐ์ ( ศรีบูรพา ) พระพิมลธรรม
    • ประหารชีวิต ครอง จันดาวงศ์ อดีตส . ส . สกลนคร
    • เมื่อ 31 พ . ค .2504
    • ประชาชนชาวนาบ้านนาบัว อ . เรณุนครลุกขึ้น ต่อสู้
    • กับอำนาจรัฐ เมื่อ 7 ส . ค .08 “ วันเสียงปืนแตก ”
  21. อำมาตยาธิปไตย หรือทหารครองอำนาจการเมือง
    • นัก วิชาการตะวันตก ชื่อ เฟร็ด ดับบลิว ริกส์ ( Riggs ) วิเคราะห์ว่าระบบราชการไทยช่วงปี 2475-2516 ไม่ได้ทำหน้าที่อย่างที่ควรจะเป็นในสังคมตะวันตก แต่กลับมีอำนาจและบทบาทมากทั้งทางการเมืองและการบริหาร ประชาชนไม่มีอำนาจและบทบาทในกระบวนการตัดสินใจทางการเมืองเท่าที่ควร พลัง ปชต .( พรรคการเมือง รัฐสภา ปชช .) ไม่มีบทบาท การเมืองเป็นเรื่องของทหาร แท้จริงก็คือ ผลประโยชน์ของกลุ่มข้าราชการทหารนั้นเอง ริกส์ จึงเรียกว่า อำมาตยาธิปไตย ( รัฐราชการ )
    • ส่วน จอห์น เกอร์ริ่ง เรียกว่า Bureaucratic Polity
  22. การเมืองไทยกับวงจรอุบาทว์ของการรัฐประหาร
    • การ เปลี่ยนแปลงการปกครอง พ . ศ .2475 มิได้เป็นการสถาปนา ปชต . ที่สมบูรณ์ในสังคมไทย จากข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์เห็นได้ชัดว่า การเมืองไทยหลังปี 2475 มีการรัฐประหาร กบฏ บ่อยครั้ง ทำให้อำนาจทางการเมืองไทยถูกครอบงำโดยทหารเป็นส่วนใหญ่
    • พลัง ปชต . นอกระบบราชการ เช่น พรรคการเมือง ประชาสังคม มีบทบาทน้อยมาก นายกรัฐมนตรีที่มาจากพลเรือนขาดเสถียรภาพ อยู่ได้ไม่นานก็ถูกรัฐประหาร เป็นสาเหตุสำคัญทำให้ปชต . ไม่พัฒนา กลับถอยหลัง และเป็นเงื่อนไขสำคัญที่นำไปสู่ความขัดแย้งทางการเมืองในเวลาต่อมา ดังกรณี 14 ตุลา 2516
  23. เหตุการณ์ 14 ตุลา วันประชาธิปไตย
  24. บทกวีวรรคทอง : ตื่นเถิดเสรีชน
    • ตื่นเถิดเสรีชน อย่ายอมทนก้มหน้าฝืน
    • ดาบหอกกระบอกปืน หรือทนคลื่นกระแสเรา
    • แผ่นดินมีหินชาติ ที่ดาดาษความโฉดเขลา
    • ปลิ้นปล้อนตะลอนเอา ประโยชน์เข้าเฉพาะตน
    • รวี โดมพระจันทร์
  25. 14 ตุลา ประวัติศาสตร์ฉบับประชาชน
    • “ เหตุการณ์ 14 ตุลา 16 เป็นอุบัติการณ์ทางการเมืองครั้งสำคัญซึ่งกองทัพ นักศึกษา ประชาชนที่ปราศจากอาวุธได้ลุกขึ้นกับอำนาจเผด็จการ กระทั่งนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่งในสายธารประวัติ ศาสตร์การเมืองไทยสมัยใหม่”
    • “ ประมาณการว่ามีผู้เข้าร่วมชุมนุมครั้งนี้ราว 5 แสนคน เป็นกองทัพประชาชนที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ชาติไทย วีรกรรมของประชาชนครั้งนี้แพร่สะพัดไปทั่วโลกและเป็นที่น่ายกย่องต่อพลัง บริสุทธิ์ของพลเมืองที่สามารถโค่นผู้ปกครองเผด็จการได้สำเร็จโดยปราศจาก อาวุธ”
  26. สาเหตุ 14 ตุลา 2516
    • เงื่อนไขทางการ เมืองที่เป็นเผด็จการ ปชช . ไม่พอใจระบอบเผด็จการทหารที่ครองอำนาจอย่างยาวนาน จึงเรียกร้องรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นกติกาพื้นฐานของสังคมการเมือง ปชต . แต่รัฐบาลปฏิเสธ และจับกุม สร้างความไม่พอใจกับมวลชน นำไปสู่การชุมนุมใหญ่ รัฐบาลจึงต้องออกไปในที่สุด
    • พลังหลักหรือทัพหน้าของการ ลุกขึ้นสู้ครั้งนี้ คือ นักศึกษา ที่เป็นผลผลิตของระบบการศึกษา พวกเขาเรียนรู้หลักการ ปชต . และตื่นตัวที่จะเข้ามีส่วนร่วมทางการเมือง แต่ระบบการเมืองปิดกัน
  27. เจตนารมณ์การต่อสู้ 14 ตุลา
    • เรียกร้องรัฐธรรมนูญกติกาพื้นฐานของระบอบ ปชต . ที่จะประกันสิทธิเสรีภาพของประชาชน
    • กล่าวโดยสรุปเจตนารมณ์ ขบวนการนักศึกษา ประชาชน 14 ตุลา คือ
    • 1. ต้องการประชาธิปไตย ต่อต้านเผด็จการ
    • 2. ต้องการสังคมที่มีความเสมอภาคและเป็นธรรม
    • 3. ต่อต้านอำนาจทุน 4. ต่อต้านจักรวรรดินิยม
    • “ เอกราช ประชาธิปไตย และความเป็นธรรม ”
  28. คุณูปการของ 14 ตุลา 16
    • เป็นภารกิจผลักดันกงล้อประวัติศาสตร์ ปชต . ไทยให้หมุนก้าวหน้าไปอีกขั้นหนึ่ง ต่อเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลง 24 มิถุนายน 2475
    • นิพนธ์ อินสิน อดีตอธิการบดี ม . ราชภัฏสกลนครประเมินคุณค่าไว้ว่า
    • 1. เป็นการเปลี่ยนโลกทัศน์ของผู้คนในสังคมทำให้ ปชช . ตระหนักในพลังอำนาจของตนเอง ทำให้การเมืองมีสภาพเป็น ปชต . มากขึ้น มีการเคลื่อนไหวเรียกร้องสิทธิเสรีภาพและผลประโยชน์ของกลุ่มพลังต่าง ๆมากมาย เช่น นักศึกษา กรรมกร ชาวนา
    • 2. เกิดการยอมรับวัฒนธรรม ศักดิ์ศรี สิทธิเสรีภาพของคนชายขอบ มากขึ้น
  29. คุณูปการ 14 ตุลา 16 ( ต่อ )
    • ทำลายระบบเผด็จการทหาร ที่สืบทอดอำนาจมาอย่างยาวนานกว่า 30 ปี
    • ทำให้เกิดสภาพทางการเมืองที่เป็นประชาธิปไตยมากขึ้น กล่าวคือพลัง
    • นอกระบบราชการ ได้แก่ นิสิต นักศึกษา กรรมการ ชาวนา
    • ประชาสังคม และกลุ่มผลประโยชนต่าง ๆ ได้มีส่วนร่วมทางการเมืองมากขึ้น
    • ทำลายระบบทุนนิยมขุนนางที่คุมเศรษฐกิจไทย กล่าวคือผลประโยชน์ที่เคยกระจุกตัวอยู่ระบบราชการ เริ่มกระจายออกจากกลุ่มนี้มากขึ้น
  30. 6 ตุลา 2519 ฆาตกรรมทางการเมือง
  31. สาเหตุ 6 ตุลา 2519
    • ศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทยที่มีแกนนำ คือ สุธรรม
    • แสงประทุม ชุมนุมคัดค้านการกลับมาของอดีตผู้นำเผด็จการถนอม
    • กิตติ ขจร ที่ปชช . ขับไล่ไปในเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 ซึ่งบวชเป็นสามเณรเข้ามา การชุมนุมยืดเยื้อในม . ธรรมศาสตร์ จนรุ่งสาง 6 ตุลา 2519
    • พลังขวาจัดปลุกระดมว่านศ . ที่ชุมนุมเป็นคอมมิวนิสต์ และ ก้าวล่วงสถาบันกษัตริย์ จึงนำไปสู่การใช้ความรุนแรงล้อมปราบ ฆ่านักศึกษา ปชช .
    • ความ รุนมาจากการที่สังคมไทยรับข่าวสารด้านเดียว ผูกขาดความรักชาติ ผูกขาดความถูกต้อง ไม่ยอมรับความแตกต่างทางความคิด ไม่มีพื้นที่สำหรับคนคิดต่าง และตระหนักถึงการแก้ปัญหาแบบสันติวิธี
  32. บทเรียน 6 ตุลา ที่คนไทยต้องเรียนรู้และจดจำ
    • สังคม ประชาธิปไตยต้องยอมรับความแตกต่างทางความคิด คิดต่างกันเราอยู่ร่วมกันได้ อย่ามองอะไรด้านเดียว อย่าผูกขาดความรักชาติ และความถูกต้อง จนเห็นคนอื่นเลว ไม่ใช่คนไทย สมควรทำร้าย ฆ่ากัน
    • ปชต . ต้องใช้สันติวิธี ปัญญา เหตุผล ความอดทน อดกลั้นแก้ปัญหา
    • สื่อทั้งหลายต้องให้ข่าวสารรอบด้าน อย่าเสนอความจริงด้านเดียว
    • ไม่ควรกล่าวอ้างสถาบันเบื้องสูงมาทำลายล้างกัน
    • อย่างลืมว่า !!! ความรุนแรงไม่สามารถแก้ปัญหาอย่างแท้จริง ยั่งยืนได้
  33. จากเมืองสู่ป่า การจับอาวุธขึ้นสู้ คือ ทางออกที่เหลืออยู่
    • ความรุนแรงโดยอำนาจรัฐต่อ นศ . ประชาชน ทำให้พวกเขานับพันคน
    • ต้องหนีตายเข้าป่าจับอาวุธต่อสู้กับ
    • อำนาจรัฐในฐานะสหายแห่งพรรค
    • คอมมิวนิสต์ไทย ( พคท .)
    • ฐานที่มั่นภูพาน ที่สหายชาวนา
    • ปฏิวัติเคลื่อนไหวอยู่ก่อนจึงเป็น
    • แห่งหนึ่งที่รองรับพวกเขาอย่างอบอุ่น
  34. อุดมการณ์ปฏิวัติเพื่อสังคมอุดมธรรม
    • สหายเหล่านี้ยึดมั่นอุดมการณ์ปฏิวัติเพื่อสังคมที่เป็นธรรม ไม่มีชนชั้นตามแนวทางคาร์ล มารกซ์ เลนิน เหมาเจ๋อตุง
  35. เพลงจากภูพานถึงลานโพธิ์
    • ดินสอโดมธรรมศาสตร์เด่นสู้ศึก
    • ได้จารึกหนี้เลือดอันเดือดดับ
    • หกตุลาเพื่อนเราล่วงลับ ความแค้นคับเดือดระอุอกคุไฟ
    • เรา มีเพียงมือเปล่ามันล้อมปราบ ระเบิดบาปกระสุนบ้ามาสาดใส่ เสียงเหมือนแตรงานศพซบสิ้นใจ สนามหญ้าคลุ้งกลิ่นไอคาวเลือดคน " ( วัฒน์ วรรลยางกูร , เพลง " จากลานโพธิ์ถึงภูพาน ")
    • " มันตามจับตามล่าฆ่าถึงบ้าน
    • อ้างหลักฐานจับเข้าคุกทุกแห่งหน
    • เราอดทนถึงที่สุดก็สุดทน
    • จึงเปลี่ยนหนทางสู้ขึ้นภูพาน
    • ภูพานคือชีวิตใหม่ คือมหาวิทยาลัยคนกล้าหาญ
    • จะโค่นล้มไล่เฉดเผด็จการ อันธพาลอเมริกาอย่าหวังครอง สู้กับปืนต้องด้วยปืนยืนกระหน่ำ
      • พรรคชี้นำตะวันแดงสาดแสงส่อง จรยุทธ์นำประชาสู่ฟ้าทอง
      • กรรมาชีพลั่นกลองอย่างเกรียงไกร “
  36. คนป่าคืนเมือง หลังนโยบาย 66/2523
    • รัฐ ไทยได้สรุปบทเรียนถึง ความผิดพลาดในการใช้นโยบายการทหารนำการเมืองด้วยการใช้ความรุนแรงเข้าปราบ ปราม นศ . ปชช . ผู้มีความคิดเห็นทางการเมืองที่แตกต่างกัน ว่าแนวทางดังกล่าวแก้ปัญหาไม่ได้
    • จึงประกาศนโยบาย การเมืองนำการทหาร คำสั่งที่ 66/2523 ให้น . ศ .+ ปชช . เข้ามอบตัว ในนามผู้ร่วมพัฒนาชาติไทย ( ผรท .) โดยไม่เอาผิด
    • หลายคนกลับไปศึกษาต่อ บางคนไปทำงานในเมือง ส่วนสหายชาวนาส่วนใหญ่ยังคงใช้ชีวิตต่อสู้ดิ้นรนในฐานะตามวิถีของตน
    • การ เมืองได้คลี่คลายเข้าสู่บรรยากาศปชต . มากขึ้น แต่หลังจากนั้นก็ยังเกิดความขัดแย้งจนนำไปสู่การรัฐประหาร 23 ก . พ .34 และพฤษภาทมิฬ ปี 35
  37. ภูพาน : บ้านนักรบ บ้านแห่งการต่อสู้เพื่อธรรม
    • 1. ฐานที่มั่นขบวนการเสรีไทยกู้ชาติ สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 (2486-2488) ภายใต้การนำของขุนพลภูพาน เตียง ศิริขันธ์ ( พลูโต )
    • 2. ฐานที่มั่นของเตียง ศิริขันธ์ และกองกำลังเพื่อต่อต้านการรัฐประหาร เมื่อ 8 พ . ย .2490 แต่ถูกกล่าวหาว่าเป็น “กบฏแยกดินแดน”
    • 3. ฐานที่มั่นของสหายปัญญาชนจากเมือง ( จิตร ภูมิศักดิ์ ) และ สหายชาวนาปฏิวัติ 7 สิงหา 2508 เพื่อต่อต้านอำนาจรัฐเผด็จการและปฏิวัติสังคม
    • 4. ฐานที่มั่นของนศ . ปัญญาชนจากเมืองหลังการล้อมปราบ กรณี 6 ตุลาคม 2519 ที่ธรรมศาสตร์ ( กรณีข้อ 3+4 เป็นฐานที่มั่นของ พคท .)
  38. แอ่งสกลนครกับการต่อสู้เพื่อธรรม ( ภายใน )
    • ดินแดนที่พระเกจิดังปฏิบัติธรรมเพื่อการดับทุกข์ภายใน ดับกิเลส ตัณหา อุปาทาน เช่น หลวงปู่มั่น หลวงปู่ฝั้น หลวงปู่เทสก์ฯลฯ
  39. แอ่งสกลนครกับประวัติศาสตร์ การต่อสู้เพื่อธรรมะ ( ภายนอก )
    • เตียง ศิริขันธ์ ครอง จันดาวงศ์ จิตร ภูมิศักดิ์ สหายชาวนาปฏิวัติ
  40. ข้อคิดและคำถาม
    • บน เส้นทางที่ยาวไกลของปชต . ไทย บรรพชนได้ต่อสู้ เสียสละคนแล้วคนเล่า เพื่อหวังให้ปชต . เป็นระบอบการเมืองที่ยังชีวิตที่ดีขึ้น มีความเสมอภาค และเป็นธรรม ปราศจากการกดขี่เอารัดเอาเปรียบ แต่จนทุกวันนี้เรายังคงต้องต่อสู้ดิ้นรนเพื่อให้ปชต . มีความหมายอย่างแท้จริง โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับคนจน
    • การเลือกตั้ง และการกระจายอำนาจล้วนเป็นความหวัง แต่ความจริง การเลือกตั้ง และการใช้อำนาจรัฐยังคงมีการฉ้อฉล ขาดธรรมาภิบาล
    • ในฐานะพลเมือง เราจะมีส่วนร่วมเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้อย่างไร หรือเราจะช่วยซ้ำเติมปัญหาให้หนักหน่วงยิ่งขึ้น
  41. เหตุการณ์พฤษภาทมิฬ 2535
  42. ม็อบมือถือ
    • การ ชุมนุมครั้งนี้เป็นความขัดแย้งระหว่างกลุ่มชนชั้นกลางที่มีแนวคิด ประชาธิปไตยกับกลุ่มทหารอำนาจนิยม ( ฝ่ายพลเอกสุจินดา คราประยูร )
    • เป็นผลต่อเนื่องมาจากความไม่พอใจที่ทหารรัฐประหาร เมื่อ 23 ก . พ .34
    • ผล 1. ปชช . บาดเจ็บล้มตายเป็นจำนวนมาก
      • 2. ทหารถูกต่อต้านปฏิเสธจากสังคม ต้องลดบทบาททางการเมืองไปนาน
      • 3. มีกระแสปชต . เรียกร้องให้มีการปฏิรูปการเมืองไทย นำไปสู่การมีรัฐธรรมนูญฉบับปชช .2540
  43. รัฐธรรมนูญฉบับ 2540 ความหวังปฏิรูปการเมือง
    • ปชต . ของไทยมีปัญหาหลัก คือการเลือกตั้งได้มาซึ่งรัฐบาลที่ถูกกล่าวหาว่าซื้อเสียง เข้ามาแล้วทุจริต เป็นกลุ่มธุรกิจการเมือง เป็นเหตุให้พลังนอกระบบอาศัยเป็นข้ออ้างทำการรัฐประหาร วนเวียนเป็นวงจรอุบาทว์เช่นนี้
    • กระแสปชต . หลังพฤษภา 35 นำไปสู่การจัดตั้ง สสร . เพื่อร่างรัฐธรรมนูญใหม่ เป้าหมายเพื่อปฏิรูปการเมืองให้โปร่งใส มีเสถียรภาพ ส่งเสริม คุ้มครองสิทธิเสรีภาพ ปชช .
    • มีการจัดตั้งองค์กรอิสระ เช่น กกต . ปปช . ผู้ตรวจการแผ่นดินรัฐสภา คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ รวมทั้งจัดตั้งศาลรัฐธรรมนูญด้วย

No comments:

Post a Comment